แนวทางการจัดเก็บวัตถุอันตรายตามประเภท 3B



การเก็บในอาคาร
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเก็บเป็นระบบป้องกันการระเบิด
  • ยานพาหนะที่ใช้ในอาคารเป็นแบบป้องกันการระเบิด
  • กรณีมีติดตั้งหัวกระจายน้ำดับเพลิง กำแพงทนไฟ F90
  • กรณีไม่มีหัวกระจายน้ำดับเพลิง กำแพงทนไฟ F180
  • ผนังอาคารทนไฟ F90 กรณีห่างจากอาคารอื่นในระยะ 10 เมตร
  • มีระบบระบายอากาศ

กรณีมีการแบ่งถ่ายบรรจุ
  • เสื้อผ้า/ชุดปฏิบัติงาน ควรทำจากผ้าฝ้าย 100%
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบริเวณทำงานเป็นระบบป้องกันการระเบิด
  • ต่อสายดินกับอุปกรณ์และถังที่เป็นโลหะ
  • บริเวณปฏิบัติงานมีการระบายอากาศที่ดี
  • กรณีสารไม่ละลายน้ำ พื้นลาดเอียง 1% และมีระบบกักเก็บ
การเก็บภายนอกอาคาร
  • เแยกห่างจากบริเวณอื่น ระยะห่าง 5 เมตร
  • แยกห่างจากวัตถุอันตรายอื่น ระยะห่าง 10 เมตร
การเก็บรวมกับประเภทอื่น
  • ประเภทที่ห้ามเก็บด้วยกัน 1/2A/4.2/5.1A, B, C/6.2
  • กรณีเก็บรวมกับประเภท 2B เก็บได้ไม่เกิน 60% และเก็บรวมสูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 ลิตร
  • กรณีเก็บรวมกับประเภท 4.1A,B ให้มีระยะห่าง
  • กรณีเก็บรวมกับประเภท 4.3 ต้องตรวจเช็คห้ามทำปฏิกิริยากันเมื่อเกิดรั่ว
  • กรณีเก็บรวมกับประเภท 5.2 ให้มีระยะห่าง 5 เมตร
  • กรณีเก็บรวมกับประเภท 7 ต้องศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (Office of Atoms for Peace)

ตัวอย่างอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดป้องกันการระเบิด