ข้อกำหนดพื้นฐานของการจัดเก็บวัตถุอันตราย

โครงสร้างสถานที่เก็บรักษา

1. พื้นอาคาร
  • 1.1 พื้นแข็งแรงรับน้ำหนักวัตถุอันตรายได้เหมาะสม
  • 1.2 พื้นต้องทนต่อน้ำและทนต่อการกัดกร่อนวัตถุอันตรายได้
  • 1.3 พื้นที่เก็บของเหลว-ก๊าซไวไฟ พื้นต้องนำไฟฟ้าได้ และป้องกันไฟฟ้าสถิต
  • 1.4 พื้นต้องไม่ดูดซับของเหลว เรียบ ไม่ลื่น ไม่แตกร้าว ทำความสะอาดง่าย
ภาพที่ 1 ตัวอย่างพื้นที่ใช้วัสดุในการก่อสร้างพื้นที่ป้องกันการรั่วซึมของน้ำหรือสารเคมี

2. หลังคา
  • 2.1 หลังคากันฝนได้ดี และต้องสามารถระบายความร้อน-ควันขณะเพลิงไหม้
  • 2.2 วัสดุมุงหลังคาทนไฟได้ 30 นาที
  • 2.3 โครงสร้างหลักเช่น เสา คาน ต้องปกป้องด้วยวัสดุไม่ติดไฟ
  • 2.4 หลังคาในคลังเก็บสารเคมีต้องไม่มีฝ้า
  • ภาพที่ 2 ตัวอย่างหลังคาที่ใช้วัสดุไม่ติดไฟ
  • 2.5 หากจำเป็นต้องมีฝ้า แผ่นฝ้าต้องไม่ติดไฟและมีอุปกรณ์ตรวจจับควันหรือความร้อน

3. ประตูและทางออกฉุกเฉิน
  • 3.1 ขนาดประตูทางออกฉุกเฉินกว้างไม่น้อยกว่า 1.10 เมตร
  • ภาพที่ 3 ตัวอย่างประตูฉุกเฉินที่เป็นไปตามข้อกำหนดและมีป้ายแสดงทางออก
  • 3.2 ไม่มีการปิดล็อคประตูด้วยกุญแจ และไม่มีสิ่งของกีดขวาง
  • 3.3 เป็นประตูบานผลักออกด้านนอกเท่านั้น และไม่เจอทางตัน
  • 3.4 ประตูเข้า-ออกต้องมีอย่างน้อย 2 ประตู
  • 3.5 อาคารขนาดใหญ่ ต้องมีประตูออกฉุกเฉิน ทุกระยะ 35 เมตร
  • 3.6 มีแสงสว่างฉุกเฉินส่องบริเวณประตูทางออกฉุกเฉิน
  • 3.7 ประตูกันไฟแบบเลื่อนปิดอัตโนมัติเมื่อเกิดเปลวไฟ ต้องไม่หลุดหรือล้มออกจากรางและ เชื่อมต่อกับสัญญาณเตือนภัย
  • ภาพที่ 4 ตัวอย่างประตูกันไฟแบบเลื่อนปิดอัตโนมัติ
  • 3.8 ประตูกันไฟต้องทนไฟได้ไม่น้อยกว่ากำแพงทนไฟ

4. ผนังอาคาร
  • 4.1 ผนังกันไฟกั้นตัดตอน
  • 4.2 ผนังกันไฟ
  • 4.3 ผนังคอนกรีต
5. กำแพงทนไฟ
  • 5.1 กำแพงทนไฟสูงเหนือหลังคา 30-100 เซนติเมตร
  • 5.2 กำแพงทนไฟด้านผนัง ยื่นออก 30-50 เซนติเมตร
  • ภาพที่ 5 ตัวอย่างการทำกำแพงทนไฟยื่นออกจากด้านข้าง
  • 5.3 กำแพงทนไฟ (F30 F60 F90 F120 F180)
  • 5.4 ประตูกันไฟ
6. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง หรือแสงสว่างฉุกเฉิน
  • 6.1 โคมไฟชนิด Metal halide / Mercury มีฝาครอบด้านหน้าป้องกันหลอดตกลงพื้น
  • ภาพที่ 6 ตัวอย่างโคมไฟชนิด Metal halide / Mercury มีฝาครอบด้านหน้าป้องกันหลอดตกลงพื้น
  • 6.2 โคมไฟแสงสว่างติดตั้งห่างจากสารเคมีอันตรายมากกว่า 50 เซนติเมตร
  • ภาพที่ 7 ตัวอย่างการติดตั้งหลอดไฟที่เว้นระยะห่างจากสารเคมีอันตราย
  • 6.3 โคมไฟแสงฉุกเฉิน ต้องเป็นชนิดกันระเบิดในพื้นที่ที่มีสารไวไฟหรือระเบิดได้
  • ภาพที่ 8 ตัวอย่างโคมไฟแสงฉุกเฉินแบบชนิดกันระเบิด
7. ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • 7.1 อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดป้องกันการระเบิด (Explosion Proof) เหมาะสมกับชนิดสารเคมี
  • ภาพที่ 9 ตัวอย่างอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดป้องกันการระเบิด
  • 7.2 อุปกรณ์ไฟฟ้ามีการต่อสายดิน
  • 7.3 ระบบป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
  • 7.4 ถัง ภาชนะบรรจุสารไวไฟ มีการต่อสายดินป้องกันไฟฟ้าสถิต
  • ภาพที่ 10 ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์ต่อสายดิน
8. ระบบป้องกันฟ้าผ่า
  • 8.2 ติดตั้งระบบสายล่อฟ้า
  • 8.2 ค่าความต้านทานดินไม่เกิน 5 โอห์ม
9. ระบบระบายอากาศ
  • 9.1 การระบายอากาศแบบธรรมชาติ เช่น หลังคาซ้อน 2 ชั้นกลางห้อง (แบบกรงนก)
  • ภาพที่ 11 ตัวอย่างการระบายอากาศแบบธรรมชาติ (แบบกรงนก)
  • 9.2 การระบายอากาศแบบทางกล เช่น พัดลมระบายอากาศ (ต้องได้รับการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญ)
  • ภาพที่ 12 ตัวอย่างการระบายอากาศแบบทางกล โดยการติดตั้งปั๊มดูดอากาศ
10. เส้นทางจราจร
  • 10.1 มีการจัดแบ่งเส้นทางเดินจากเส้นทางรถยกอย่างชัดเจน
  • ภาพที่ 13 ตัวอย่างการจัดทำเส้นทางแสดงการใช้งานสำหรับรถยก
11. ระบบป้องกันอัคคีภัย
  • 11.1 สัญญาณเตือนภัย
    • 1) มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ แบบกดด้วยมือ
    • ภาพที่ 14 ตัวอย่างการติดตั้งจุดกดสัญญาณแจ้งเหตุ
    • 2) มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ แบบอัตโนมัติ
    • 3) มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุสารเคมี/ก๊าซรั่วไหล และมีเสียงที่แตกต่างจากข้อ 1 และ 2
  • 11.2 การติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย
    • 1) สวิตช์แบบกดอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมทุกระยะ 30 เมตร และทดสอบเดือนละ 1 ครั้ง
    • 2) อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ ต้องติดตั้งตำแหน่งสูงสุดของหลังคา
    • ภาพที่ 15 ตัวอย่างแสดงตำแหน่งของการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันที่มีประสิทธิภาพ
    • 3) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ติดตั้งระดับความสูงที่เหมาะสม
    • 4) อุปกรณ์ตรวจจับก๊าซ ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสมกับชนิดของก๊าซ
    • ภาพที่ 16 ตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจจับก๊าซชนิดป้องกันการระเบิด
    • 5) อุปกรณ์ตรวจจับทุกชนิดต้องกันระเบิดได้ หากติดตั้งในพื้นที่มีไอระเหยสารไวไฟ
  • 11.3 อุปกรณ์ดับเพลิง
    • 1) ติดตั้งถังดับเพลิงประเภท A-B ด้วยจำนวนและความสามารถของเครื่องดับเพลิง โดยคำนวณตามพื้นที่ของสถานที่เก็บวัตถุอันตราย โดยต้องมีระยะเข้าถึงไม่เกิน 22.5 เมตร
    • ภาพที่ 17 ตัวอย่างตู้ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงที่มีป้ายติดแสดงตำแหน่งติดตั้ง
    • 2) ตรวจสอบความพร้อมใช้ของถังดับเพลิงทุก 6 เดือน
    • 3) มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เห็นชัดเจน แสดงว่าเป็นถังชนิดใด ใช้ดับเพลิงประเภทใด
    • ภาพที่ 18 ตัวอย่างการจัดทำป้ายแสดงระยะเวลาการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิง
  • 11.4 ระบบน้ำดับเพลิง
    • 1) ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง (water sprinkling) ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการเก็บรักษาวัตถุอันตราย
    • ภาพที่ 19 ตัวอย่างการติดตั้งหัวกระจายน้ำดับเพลิงที่ครอบคลุมพื้นที่
    • 2) ถ้ามีระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงในชั้นวางสินค้า (In rack sprinkling) อย่างน้อยต้องติดตั้งหัวกระจายน้ำทุก 2 ชั้น
    • ภาพที่ 20 ตัวอย่างการติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงในชั้นวางสินค้า
    • 3) ระบบหัวรับน้ำดับเพลิง (water hydrant) ทุกระยะ 50 เมตร อุปกรณ์ข้อต่อ สายส่งน้ำเป็นขนาดเดียวกันหรือเข้ากันได้กับอุปกรณ์ของหน่วยดับเพลิงท้องถิ่น
    • 4) ตู้ดับเพลิงแบบสาย (fire hose reel) มีความยาวเพียงพอครอบคลุมพื้นที่
    • ภาพที่ 21 ตัวอย่างตู้เก็บสายน้ำดับเพลิงแบบสายผ้าใบและแบบท่อยางกลม
    • 5) ระบบน้ำดับเพลิงสำรอง มีไม่น้อยกว่า 100 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ในพื้นที่มีขนาดไม่เกิน 2,500 ตารางเมตร
    • 6) ระบบน้ำดับเพลิงสำรอง มีไม่น้อยกว่า 200 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ในพื้นที่ ที่มีขนาดเกิน 4,000 ตารางเมตร
    • ภาพที่ 22 ตัวอย่างถังเก็บน้ำดับเพลิงสำรอง
    • 7) เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ชนิด Jocky pump
    • 8) เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ชนิด Emergency Electric pump
    • 9) เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ชนิด Diesel Engine pump
    • ภาพที่ 23 ตัวอย่างเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบไฟฟ้าและแบบน้ำมัน
    • 10) ทดสอบเดินเครื่องสูบน้ำดับเพลิงสม่ำเสมอ

    12. การจัดการด้านสุขศาสตร์และความปลอดภัย
    • 12.1 อุปกรณ์อาบน้ำฉุกเฉิน (safety shower)
    • ภาพที่ 24 ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์ชำระล้างตัวกรณีฉุกเฉิน
    • 12.2 อุปกรณ์ล้างตาฉุกเฉิน (eye bath)
    • ภาพที่ 25 ตัวอย่างอุปกรณ์ล้างตาฉุกเฉิน
    • 12.3 อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
    • ภาพที่ 26 ตัวอย่างจุดติดตั้งอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
    • 12.4 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
    • ภาพที่ 27 ตัวอย่างการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
    • 12.5 เครื่องหมายความปลอดภัย เช่น ป้ายห้าม ป้ายเตือน ป้ายบังคับ ป้ายข้อมูล
    • ภาพที่ 28 ตัวอย่างป้ายแสดงเครื่องหมายความปลอดภัย
    • 12.6 อุปกรณ์การจัดการกรณีสารรั่วไหล
    • ภาพที่ 29 ตัวอย่างการจัดเตรียมอุปกรณ์การจัดการกรณีสารรั่วไหล
    • 12.7 การกำจัดของเสีย
    • ภาพที่ 30 ตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียอันตราย
    13. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

    • 13.1 มีระบบกักเก็บน้ำผ่านการดับเพลิง ปริมาตรความจุตามตาราง

    • พื้นที่รวมของสถานที่เก็บรักษาทั้งหมด (ตารางเมตร) ความจุของบ่อกักเก็บฉุกเฉิน (ลูกบาศก์เมตร)
      256
      5012
      7518
      10025
      15040
      20055
      25070
      30090
      400125
      มากกว่าหรือเท่ากับ 500150

      ภาพที่ 31 ตัวอย่างบ่อกักเก็บน้ำผ่านการดับเพลิง
    • 13.2 มีระบบกักเก็บสารเคมีกรณีรั่วไหลออกนอกพื้นที่เก็บรักษาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    • ภาพที่ 32 ตัวอย่างรางกักเก็บสารเคมีรั่วไหลเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
    • 13.3 มีระบบรองรับสารเคมีอันตรายที่รั่วไหลภายในสถานที่เก็บรักษาไปรวมไว้ที่บ่อกักเก็บ
    • 13.4 บ่อกักเก็บต้องเป็นบ่อซีเมนต์ภายนอกอาคาร หรือโดยทำทางลาดใต้พื้นอาคารเพื่อป้องกันของเหลวไม่ให้ไหลออกสู่ภายนอกอาคาร

    14. การเก็บรักษาภายนอกอาคาร
    • 14.1 บริเวณโดยรอบพื้นที่เก็บ ต้องไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย และมีสภาพแวดล้อมที่อาจนำไปสู่การเกิดไฟไหม้
    • ภาพที่ 33 ตัวอย่าง ไม่ควรมีการเก็บรักษาสารเคมีในบริเวณเส้นทางจราจร
    • 14.2 ห้ามเก็บรักษาในพื้นที่จัดให้เป็นที่จอดรถ หรือเส้นทางการจราจร
    • 14.3 พื้นที่แข็งแรงเพียงพอกับการรับน้ำหนักสารเคมีหรือวัตถุอันตรายที่เก็บรักษา
    • 14.4 วัสดุของพื้นต้องเหมาะสมหรือทนกับสภาพตามประเภทของสารเคมีที่เก็บรักษา
    • 14.5 มีระบบรองรับสารเคมีและวัตถุอันตรายที่รั่วไหลในบริเวณสถานที่เก็บรักษาไปรวมไว้ที่บ่อกักเก็บ
    • 14.6 มีการป้องกันการเสื่อมสภาพของสารเคมีหรือบรรจุภัณฑ์ที่เก็บรักษาจากสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลกระทบ
    • 14.7 การจัดวางสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ต้องมีการป้องกันการเคลื่อนตัวของสารเคมีที่เก็บรักษา หรือจัดให้มีแผ่นรองสินค้าที่มั่นคงแข็งแรง
    • 14.8 บริเวณเก็บรักษาต้องเว้นระยะห่างที่เหมาะสมสำหรับช่องทางที่ไปยังจุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
    • 14.9 ประเภทสารที่ไม่อนุญาตให้เก็บรักษาภายนอกอาคาร